เมนู

6. มหาธรรมสมาทานสูตร



[520] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถุ ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย"
"พระพุทธเจ้าข้า" ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
[521] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า:-
"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ส่วนมาก มีความใคร่อย่างนี้ มีความพอใจอย่าง
นี้ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
ใคร่ ไม่น่าพอใจ พึงเสื่อมไป, ขอให้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
พึงเจริญแทนที่เถิด" แต่ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านั้น มีความใคร่อย่างนั้น มีความพอ
ใจอย่างนั้น มีความประสงค์อย่างนั้น, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็ยังเจริญขึ้นมาจนได้, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กลับ
เสื่อมไป. ในข้อนั้นพวกเธอเข้าใจว่าเพราะเหตุไร"
ภิ. "พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่
พึงอาศัย, พระพุทธเจ้าข้า ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแต่กับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด, เมื่อพวกภิกษุได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว จะทรงจำไว้"
พ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดี ๆ
เราตถาคตจะว่าให้ฟัง"

ภิ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า " ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
[522] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า :-
"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้รับการศึกษา ไม่เห็นพวกพระอริย
เจ้า ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในคุณธรรม
ของพระอริยเจ้า. ไม่เห็นพวกคนดี ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของคนดี ไม่ได้รับ
การแนะนำในคุณธรรมของคนดี, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควร
เสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรคบ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขาไม่รู้จักสิ่งที่ควร
เสพ,...ไม่ควรเสพ,..ควรคบ,...ไม่ควรคบ, ก็เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพสิ่ง
ที่ควรเสพ; คบสิ่งที่ไม่ควรคบ. ไม่คบสิ่งที่ควรคบ, เมื่อเขาเสพสิ่งที่ไม่ควร
เสพ ไม่เสพสิ่งที่ควรเสพ, คบสิ่งที่ไม่ควรคบ ไม่คบสิ่งที่ควรคบเข้า, สิ่งที่ไม่
น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น, สิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมหายไป. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุ เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้รับการศึกษา ได้เห็นพวกพระ
อริยเจ้ามา ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในคุณธรรม
ของพระอริยเจ้าเป็นอย่างดีมาแล้ว, ได้เห็นพวกคนดีมา ฉลาดต่อคุณธรรม
ของคนดี ได้รับการแนะนำในคุณธรรมของคนดีเป็นอย่างดีมาแล้ว, ย่อมรู้จัก
สิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขารู้จัก
สิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ; ก็ไม่เสพสิ่งที่
ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควรคบ คบแต่กับสิ่งที่ควร
คบ. เมื่อเขาไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควร
คบ คบแต่สิ่งที่ควรคบ, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็ย่อม

เสื่อมหายไป; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็ย่อมเจริญขึ้นมา ข้อ
นั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"
[523] "ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มี 4 อย่าง.
4 อย่างอะไรบ้าง คือ:-
1. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผล
เป็นทุกข์อีก ก็มี,
2. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็น
ทุกข์ ก็มี,
3. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปมีผลเป็น
สุข ก็มี,
4. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ให้ผล
เป็นสุขอีก ก็มี.
[524] "ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือ
มั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ อยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า ''การ
ถือมั่นสิ่งแบบนี้แล ที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็เป็นทุกข์อีก" นี้เป็นการ
ถือมันสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ยังเป็นทุกข์อีก เมื่อไม่รู้
มัน อยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่งดเว้น
มัน เมื่อเขาเสพมันไม่งดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป
ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.
"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่
รู้ ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล เป็นการ

ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์" นี้เป็นการถือมั่นสิ่ง
ชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอำนาจ
ความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่งดเว้นมัน. เมื่อเขา
เสพมันไม่งดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญ
ขึ้นมา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป. ข้อนั้น เพราะเหตุ
ไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.
"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่
รู้ ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลเป็นการถือ
มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้เป็นการถือมั่นสิ่ง
ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอำนาจ
ความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมัน. เมื่อเขา
เสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอ
ใจ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลง
ไป. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริง
เช่นนั้น.
"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่
รู้ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือ
มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก." นี้คือการถือ
มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก. เมื่อไม่รู้
มัน ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมันไม่ยอมงด
เว้นมัน. เมื่อเขาเสพมันไม่ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
ใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็พลอย
เสื่อมลงไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่
เป็นจริงเช่นนั้น.

[525] ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่น
สิ่งที่ผู้รู้ อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือ
การ ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์
อีก" นี้คือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็มีผลเป็นทุกข์
อีก. เมื่อรู้มัน อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิก
เสพมัน ย้อมงดเว้นมัน, เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่
น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป. สิ่งที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมาแทนที่. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้ง
หลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้
อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่นสิ่ง
ชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่
ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อรู้มันอยู่ในอำนาจความรู้...
ฯลฯ เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"

"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้
รู้ อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่น
สิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่
ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อรู้มันอยู่ในอำนาจความรู้...ฯลฯ
เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้
อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่น
สิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก" นี้คือการถือมั่น

สิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เมื่อรู้มันอยู่ใน
อำนาจความรู้เข้าใจได้ชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิกเสพมัน ผอมงดเว้นมัน.
เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมา
แทนที่ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริง
เช่นนั้น.

[526] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งใน
ปัจจุบัน และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์อีก เป็นไฉน
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-
1. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,
และเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
2. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ
โทมนัสบ้าง, และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
3. เป็นผู้ชอบประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อม
กับโทมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวย
ทุกข์โทมนัส.
4. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,
และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
5. เป็นผู้พูดส่อเสียด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง.
และเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
6. เป็นผู้พูดคำหยาบ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง
และเพราะการ คำหยาบเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

7. เป็นผู้พูดสำรากเพ้อเจ้อ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส
บ้าง, และเพราะการพูดสำรากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
8. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ
โทมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
9. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส
บ้าง และเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
10. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ
โทมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติ
วินิบาต นรก. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ในปัจจุบันก็เป็น
ทุกข์ และต่อไปก็ยังมีผลเป็นทุกข์อีก.
[527 ] "ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง การถือมั่นสิ่งที่มีสุขในปัจจุบันแต่ต่อ
ไปมีผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน
"ภิกษุทั้งหลาย คือบุคคลบางคนในโลกนี้ :-
1. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ
เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
2. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,
และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
3. เป็นผู้ชอบพระพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับสุขบ้าง พร้อม
กับโสมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวย
สุขโสมนัส.

4. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ
เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
5. เป็นพูดส่อเสียด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ
เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
6. เป็นผู้พูดคำหยาบ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง และ
เพราะการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
7. เป็นผู้ชอบพูดคำสำรากเพ้อเจ้อ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส
บ้าง, และเพราะการพูดสำรากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
8. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับ
โสมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
9. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,
และเพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
10. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส
บ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
(แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติ
วินิบาต นรก.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการยึดถือสิ่งที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อ
ไปมีผลเป็นทุกข์.
[528] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มี
สุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

1. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ
โทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์
โทมนัส.

2. เป็นผู้เว้นจากการลักทรัพย์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อม
กับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อม
เสวยทุกข์โทมนัส.

3. เป็นผู้เว้นจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์
บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากความประพฤติผิดในกาม
เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

4. เป็นผู้เว้นจากการพูดเท็จได้เด็ดขาด พร้อมกับ ทุกข์บ้าง พร้อมกับ
โทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์
โทมนัส.

5. เป็นผู้เว้นจากการพูดส่อเสียดได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง
พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็น
ปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

6. เป็นผู้เว้นจากการพูดคำหยาบได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง
พร้อมกับโทมนัสบ้าง และเพราะการเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย
เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

7. เป็นผู้เว้นจากการพูดคำสำรากเพ้อเจ้อได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์
บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดคำสำรากเพ้อเจ้อ
เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

8. เป็นผู้ไม่มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส
บ้าง, และเพราะความไม่เพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
9. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,
และเพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
10. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส
บ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.
(แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
"ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อ
ไปมีสุขเป็นผล.

[529] "อนึ่ง, ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและ
ต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เป็นไฉน
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-
1. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับ
โสมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุข
โสมนัส ..ฯลฯ...
10. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส
บ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.
(และ) เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก, เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อ
ไปก็ยังมีสุขเป็นผลอีก.

"ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการถือมั่นสิ่งทั้งหลาย 4 ประการ.
[530] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำเต้าขมเจือยาพิษ แล้วทีนั้น
มีคนอยากเป็น ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง. พวกคนก็กล่าวกะเขา
อย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้เป็นน้ำเต้าขมเจือยาพิษนะ, ถ้าคุณประสงค์ก็จงดื่ม
เถิด, เพราะว่าขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ จะไม่อาเจียนเพราะสี
เพราะกลิ่น หรือเพราะรสเลย, แต่ทว่า เมื่อคุณดื่มเสร็จแล้ว จะถึงความ
ตาย หรือไม่อย่างนั้นก็จะถึงทุกข์ปางตาย" เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่พิจารณา
และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และขณะที่เขากำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่า
สี ไม่ว่ากลิ่น หรือรส ไม่ทำให้เขาอาเจียนเลย แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จ เขาจะพึง
ถึงความตายหรือถึงทุกข์เจียนตาย แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
กล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้ คือการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยัง
มีผลเป็นทุกข์อีกนี้ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.
[531] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่น
ก็หอม รสก็อร่อย. แต่ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลเจือยาพิษ. คราวนี้ก็มีคนที่
อยากเป็นไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้
ว่า "นี่แน่ะ นาย มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่นก็หอม รสก็อร่อย. แต่
ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลมันเจือยาพิษ ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิด. เพราะ
ว่าขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสี ไม่ว่ากลิ่น หรือรส จะทำให้
อาเจียนออก, แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณจะถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน
ตาย เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่ทันได้พิจารณา และก็ไม่ยอมบ้วนทิ้ง และเมื่อ
เขากำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ เกิดอาเจียนออกมา เพราะสี เพราะกลิ่น หรือ
เพราะรส แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้ว เขาก็ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์ปาง
ตาย แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือถือมั่นสิ่ง
ที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีผลเป็นทุกข์ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[532] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำมูตรเน่าที่ระคนด้วยตัวยา
ต่างๆ ทีนั้น ก็มีคนเป็นโรคผอมเหลืองมาถึง, พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้
ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้น้ำมูตรเน่าที่เอาตัวยาต่างๆ มาระคน ถ้าคุณต้องการก็ดื่ม
เถิด, และขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ จะไม่อาเจียน เพราะสี เพราะ
กลิ่น หรือเพราะรสเลย อีกทั้งเมื่อดื่มเสร็จแล้ว คุณก็จะมีความสุขด้วย"
เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณาแล้ว และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และตอนที่เขากำลัง
ดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทำให้อาเจียน แต่ทว่าเมื่อ
ดื่มเสร็จแล้ว เขาก็มีความสุขแม้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึง
การถือมั่นสิ่งนี้ คือถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีสุขเป็นผลว่ามีการ
เปรียบเป็นฉันนั้น.

[533] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำ
อ้อย ที่เอามาระคนข้าด้วยกัน. ตอนนั้น มีคนที่เป็นโรคลงแดงมาถึง พวกคน
ก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย!นี้เป็นนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยที่
เอามาระคนเข้าด้วยกัน. ถ้าคุณต้องการ ก็ดื่มเถิด และทั้งตอนที่คุณกำลังดื่ม
ของเหล่านั้นอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทำให้อาเจียน,
แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จแล้ว คุณจะมีความสุข" เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณา
แล้ว และไม่บ้วนทิ้งเสียด้วย อีกทั้งเมื่อเขากำลังดื่มมันอยู่นั้น แหละ เพราะ
สี เพราะกลิ่น หรือเพราะรสก็ไม่ทำให้อาเจียนออกมาเลย, แต่ทว่า เมื่อดื่ม
เสร็จแล้ว เขาก็มีความสุข แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการ
ถือมั่นสิ่งนี้ คือการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบัน และต่อไปก็ยังมีความสุขเป็น
ผลอีกว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[534] ''ภิกษุทั้งหลาย ในฤดูสารท เดือนท้ายฤดูฝน เมื่อฝน

ซาลง เมฆก็ปราศไปแล้ว พระอาทิตย์สู่ท้องฟ้า กำจัดความมืดในอากาศย่อม
ส่องแสงแผดแสง และแจ้งจ้า แม้ฉันใด; ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย การถือ
มั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก ขจัดคำติเตียนของ
สมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นได้ แล้วย่อมสว่างแจ่มแจ้ง และรุ่งเรือง."

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง
มีความพอใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประการ
ฉะนี้

จบมหาธัมมสมาทานสูตรที่ 6

อรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร



มหาธรรมสมาทานสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."

ในบทเหล่านั้น บทว่า "มีความอยากอย่างนี้" คือมีความต้องการ
อย่างนี้. บทว่า "มีความพอใจอย่างนี้" คือมีความโน้มเอียงไปอย่างนี้. บท
ว่า " มีความประสงค์อย่างนี้" คือมีลัทธิอย่างนี้. บทว่า "ใน...นั้น" คือ
ในความเจริญแห่งอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และในความเสื่อมไปแห่งอารมณ์ที่
น่าพอใจนั้น. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล" คือ ชื่อว่ามีพระผู้
มีพระภาคเจ้าเป็นรากเง่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูลแห่งสิ่ง
เหล่านี้. มีคำที่กล่าวไว้ว่า " พระพุทธเจ้าข้า! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ของพวก
ข้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้เกิดขึ้น
เมื่อพระองค์ท่านปรินิพพานแล้ว ไม่ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ที่ขึ้นชื่อว่าผู้
สามารถให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกเลย สิ้นพุทธันดรหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงให้ธรรมเหล่านี้ของพวกข้าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว พวกข้าพระพุทธเจ้า
ได้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ จึงเข้าใจทั่วถึง คือรู้เฉพาะธรรมเหล่า
นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า! เพราะเหตุนี้ ธรรมของพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า
มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูล ด้วยประการฉะนี้. คำว่า "มีพระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำ
" คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ
ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรมโดยแท้. ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้ง
ชื่อเป็นหมวดๆ ตามที่เป็นจริง จึงย่อมชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้
ชักนำ. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ ธรรมทั้ง 4
ชั้น มาสู่คลองพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมจับกลุ่มรวมประชุมลงอย่างพร้อม
เพรียงในพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตอนที่พระผู้มีพระภาค